Download ==> วิเคราะห์   กราฟ   ตาราง  

ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัด แม่ฮ่องสอน
เดือน ธันวาคม  2563 และปี   2563

 

       ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัด แม่ฮ่องสอน
เดือนธันวาคม 2563
      
       สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบาย
       และยุทธศาสตร์การค้า ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเดือนธันวาคม 2563
       การประมวลผลดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ ปีฐาน 2558 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ
       ที่คำนวณทั้งสิ้น 422 รายการ (ปีฐาน 2554 มีจำนวน 450 รายการ) สำหรับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
       มีจำนวน 259 รายการ (ปีฐาน 2554 มีจำนวน 220 รายการ) ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะการขนส่ง
       และการสื่อสาร การบันเทิงการอ่านการศึกษา และการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สรุปได้ดังนี้
       1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2563
       ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนธันวาคม 2563 เท่ากับ 102.34 ซึ่งเทียบกับเดือนธันวาคม 2562 เท่ากับ 102.62 ลดลงร้อยละ 0.27 และเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 เท่ากับ 102.19 ลดลงร้อยละ 0.15
       2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนเดือนธันวาคม 2563
       ปี 2558 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2563 เท่ากับ 101.8 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2563 เท่ากับ 101.7 และเดือนธันวาคม 2562 เท่ากับ 103.3
       3. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับ
       3.1 เดือนพฤศจิกายน 2563 ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นร้อยละ 0.1
       3.2 เดือนธันวาคม 2562 ดัชนีาคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 1.5
       3.3 เฉลี่ยช่วงระยะเวลา 12 เดือน ( มกราคม – ธันวาคม ) ปี2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (มกราคม – ธันวาคม ปี2562) ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 1.5
       4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นร้อยละ 0.1 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7
       4.1 ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 1.8 ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง (น้ำมันเบนซิน 95 น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์95 แก๊สโซฮอล์E20) สูงขึ้นร้อยละ 4.7
       4.2 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของ
       ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 2.9 ได้แก่ ผักสด ลดลงร้อยละ 3.9 (กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักชี มะเขือ มะเขือเทศ มะละกอดิบ พริกสด ต้นหอม กะหล่ำดอก) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และผลไม้สด ลดลงร้อยละ1.6 (มะละกอสุก สับปะรด แตงโม แอ๊ปเปิ้ล) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 0.9 (ไข่ไก่) ส่วนดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (เนื้อสุกร)
       5.หากพิจารณาเทียบกับเดือนธันวาคม 2562 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
       ลดลงร้อยละ 1.5 จากการลดลงของดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.8
       สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 3.7 (น้ำมันเชื้อเพลิง)
       หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 1.3 ขณะที่หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.4 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.4 และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
       สูงขึ้นร้อยละ 0.1
       ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 1.0 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ0.6 ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ0.6 ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 5.6 ส่วนดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 6.2 เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 4.1 เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.1 อาหารบริโภค – ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.1
       6. ดัชนีผู้บริโภคทั่วไปของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดัชนีเฉลี่ย 12 เดือน (มกราคม – ธันวาคม) ปี 2563 เทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.5 จากการลดลงของหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม
       ลดลงร้อยละ 2.7 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของหมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 6.0 และเคหสถาน ลดลงร้อยละ 1.5 สำหรับหมวดสินค้าที่ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการบันเทิง
       การอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.4 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
       สูงขึ้นร้อยละ 0.2
       ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ อาหารบริโภค-นอกบ้าน
       สูงขึ้นร้อยละ 5.1 เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 3.3 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.6
       เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.4 สำหรับหมวดสินค้า
       ที่ดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ ผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 2.8 ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 2.3
      
      
      

-----------------------------------------  


จัดทำโดย ©
  - สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 1376
  - กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า โทร. 0 2507 5793  email : indexmaster@moc.go.th
http://www.price.moc.go.th  หัวข้อดัชนีราคาผู้บริโภคระดับจังหวัด