Download ......



 

       กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 โดยสรุป

       จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551
       ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
      
       2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
       2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
       2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) ปี 2550
       สูงขึ้นร้อยละ 5.3
      
       3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
      
       3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศ ที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
      
       3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
      
       4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
       สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
      
       5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
       สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
      
       6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
       ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
       6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
       6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
       6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550
       สูงขึ้นร้อยละ 1.6
       โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
      
              กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 โดยสรุป

       จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551
       ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 123.6 สำหรับเดือนมีนาคม 2551 คือ 121.4
      
       2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
       2.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 6.2
       2.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) ปี 2550
       สูงขึ้นร้อยละ 5.3
      
       3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนเมษายน 2551 เทียบกับเดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาตลาดโลกซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสดประเภทต่าง ๆ
      
       3.1 ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.4 สาเหตุสำคัญ จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ส่งผลให้ราคาอาหารประเภทต่าง ๆ สูงขึ้น เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว สูงขึ้นตามความต้องการของการบริโภคทั้งในและต่างปะเทศด้วย นอกจากนี้ ไก่สด ไข่ ผักและผลไม้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้น ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักชี มะเขือเทศ มะนาว ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาพอากาศ ที่ร้อนอบอ้าวมีผลต่อการเพาะปลูก การขึ้นราคาอาหารสดส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง โจ๊ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื้อสุกรราคามีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย
      
       3.2 ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักยังคงมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับสูง โดยบริษัทต่าง ๆ ปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศหลายครั้งทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ส่งผลให้ดัชนีหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 4.5 รวมถึงค่าโดยสารในท้องถิ่น ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง
      
       4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาเหตุมาจากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงและภาวะตลาดทำให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 9.8 ได้แก่ ข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ และเครื่องประกอบอาหาร
       สำหรับดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 ปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของดัชนีน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 24.8 เป็นสำคัญ
      
       5. ถ้าพิจารณาเทียบดัชนีราคาเฉลี่ย 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 7.6 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ข้าวสารเจ้า และเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช)
       สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.3
      
       6. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
       ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนเมษายน 2551 เท่ากับ 107.6 เมื่อเทียบกับ
       6.1 เดือนมีนาคม 2551 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
       6.2 เดือนเมษายน 2550 สูงขึ้นร้อยละ 2.1
       6.3 เฉลี่ยช่วงระยะ 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) 2550
       สูงขึ้นร้อยละ 1.6
       โดยมีปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง และค่าโดยสารรถเมล์เล็ก เป็นต้น
      
      

    

General Thailand
 April   2008  
(2562=100)
 

Code
Group and Subgroup (TH.)
Base Year Weight (%)
Indices
Change
Group and Subgroup (EN.)
 Apr.8
Mar.8
Apr.7
Apr.8 /
Mar.8
Apr.8 /
Apr.7
Jan. - Apr.8 /
Jan. - Apr.7
0000
 รวมทุกรายการ
100.00   
  86.3
  84.9
  81.3
  1.8
  6.2
  5.3
ALL COMMODITIES
1000
 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  40.35   
  69.3
  67.0
  63.0
  3.4
  9.8
  7.6
FOOD AND NON - ALCOHOLIC BEVERAGES
1110
      ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
  4.09   
  73.3
  64.3
  61.3
14.1
19.6
  8.7
RICE, FLOUR AND CEREAL PRODUCTS
1120
      เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ
  8.93   
  69.6
  68.8
  60.5
  1.1
15.0
12.0
MEATS, POULTRY AND FISH
1121
      เนื้อสัตว์
  3.54   
  73.5
  73.3
  58.4
  0.4
26.1
20.6
MEATS
1122
      เป็ด ไก่
  1.57   
  78.4
  75.7
  65.7
  3.6
19.5
16.6
DUCK, CHICKEN AND FROG
1123
      ปลาและสัตว์น้ำ
  3.83   
  62.8
  62.4
  60.2
  0.8
  4.4
  3.5
FISH AND AQUATIC ANIMALS
1130
      ไข่และผลิตภัณฑ์นม
  2.05   
  83.5
  82.6
  72.5
  1.0
15.1
12.1
EGGS AND DAIRY PRODUCTS
1140
      ผักและผลไม้
  5.47   
  50.5
  47.7
  45.4
  5.8
11.1
11.4
VEGETABLES AND FRUITS
1150
      เครื่องประกอบอาหาร
  2.17   
  70.6
  70.1
  63.3
  0.8
11.8
10.5
SEASONINGS AND CONDIMENTS
1160
      เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  2.21   
  85.0
  84.7
  82.6
  0.4
  2.9
  2.3
NON-ALCOHOLIC BEVERAGES
1200
   อาหารสำเร็จรูป
  15.42   
  72.8
  71.4
  69.3
  1.9
  5.2
  3.5
PREPARED FOOD
1210
      อาหารบริโภค-ในบ้าน
  8.70   
  71.2
  69.8
  66.9
  1.8
  6.3
  5.0
PREPARED FOOD AT HOME
1220
      อาหารบริโภค-นอกบ้าน
  6.72   
  75.0
  73.5
  71.7
  2.0
  4.5
  2.6
FOOD AWAY FROM HOME
2000
 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
  2.23   
  98.7
  98.7
  98.4
  0.0
  0.3
  0.4
APPAREL AND FOOTWARE
3000
 หมวดเคหสถาน
  23.17   
  94.9
  94.8
  94.7
  0.1
  0.2
  0.0
HOUSING AND FURNISHING
3100
   ค่าที่พักอาศัย
  15.49   
  93.6
  93.6
  93.4
  0.0
  0.2
  0.2
SHELTER
3110
      ค่าเช่า
  14.62   
  93.9
  93.9
  93.9
  0.0
  0.0
  0.2
HOUSE RENT
3200
   ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง
  5.49   
  97.2
  97.2
  97.7
  0.0
 -0.3
 -0.9
ELECTRICITY, FUEL AND WATER SUPPLY
3300
   สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน
  .15   
  95.2
  95.2
  95.0
  0.0
  0.2
  0.3
TEXTILE - HOUSE FURNISHING
3600
   สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด
  1.64   
  85.8
  84.7
  84.5
  1.2
  1.6
  1.1
CLEANIMG SUPPLIES
4000
 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
  5.68   
  91.5
  91.4
  90.7
  0.1
  0.8
  0.6
MEDICAL AND PERSONAL CARE
4100
   ค่าตรวจรักษาและค่ายา
  1.22   
  91.2
  91.2
  90.8
  0.0
  0.5
  0.5
MEDICAL CARE
4200
   ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
  4.21   
  89.7
  89.6
  88.7
  0.2
  1.0
  0.8
PERSONAL CARE EXPENDITURES
5000
 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
  22.67   
109.4
107.5
100.4
  1.9
  9.0
  9.2
TRANSPORTATION AND COMMUNICATION
5100
   ค่าโดยสารสาธารณะ
  1.37   
100.8
100.3
  98.3
  0.5
  2.5
  2.2
PUBLIC TRANSPORTATION SERVICES
5200
   ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
  15.18   
112.8
109.5
  97.4
  3.1
15.9
16.4
VEHICLES AND VEHICLE OPERATION
5400
   การสื่อสาร
  4.35   
101.0
101.0
101.4
  0.0
 -0.4
 -0.4
COMMUNICATION AND EQUIPMENTS
6000
 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา
  4.51   
104.7
104.7
102.9
  0.0
  1.5
  1.5
RECREATION AND EDUCATION
7000
 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  1.39   
  62.5
  62.5
  60.2
  0.0
  3.8
  3.6
TOBACCO AND ALCOHOLIC BEVERAGES
8000
 หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม
  59.65   
  99.5
  98.7
  95.8
  0.8
  3.9
  3.9
NON-FOOD AND BEVERAGES
9000
 กลุ่มอาหารสดและพลังงาน
  32.94   
  78.8
  75.5
  68.5
  4.3
15.1
13.5
RAW FOOD AND ENERGY
9100
   อาหารสด
  20.55   
  64.6
  61.4
  56.7
  5.0
14.0
11.2
RAW FOOD
9200
   พลังงาน
  12.39   
108.9
105.4
  93.3
  3.2
16.8
17.1
ENERGY
9300
   ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
  67.06   
  88.5
  88.1
  86.7
  0.6
  2.1
  1.6
EXCLUDE RAW FOOD AND ENERGY
Note : Core Inflation is General Inflation Excludes Raw Food and Energy    

Division of Trade and Economic Indices Trade Policy and Strategy Office Tel. 0 2507 5850 Fax. 0 2507 5825