Download ......

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ...

เดือน ธันวาคม  2553 และปี   2553


 

      ดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตมีเสถียรภาพดีอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เท่ากับ ๑๐๘.๙๒ โดยเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ ๓.๐ ถือได้ว่าเป็นการขยายตัวในระดับที่เหมาะสมกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2553 ทั้งปีขยายตัวร้อยละ 7.5 โดยดัชนีเฉลี่ยทั้งปี ๒๕๕๓ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๓.3 ซึ่งอยู่ในช่วงที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปี (โดยคาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นระหว่าง ร้อยละ ๓.๐ - ๓.๕)
       การปรับตัวของเศรษฐกิจไทยต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีของไทย และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคแสดงให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยเติบโตมีเสถียรภาพดีอย่างต่อเนื่อง
       ในปี 2553 ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบทั้งปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปีและปัญหาอุทกภัยหลายแห่งของทั่วประเทศไทย ในช่วงปลายปีจนถึงปัจจุบันได้คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ ในเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับผลผลิตการเกษตรหลายประเภทโดยเฉพาะผักสดและผลไม้บางชนิดส่งผลให้ราคาสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มอาหารสดในเดือนนี้อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างลดลง
       ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสูงขึ้นร้อยละ ๐.๑6 โดยมีผลกระทบมาจากข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น ร้อยละ ๐.43 ไข่ไก่ สูงขึ้นร้อยละ 0.๒8 ผักสด ลดลงร้อยละ 18.26 ผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ ๐.87 ปลาและสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ ๐.1๗ เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.42 อาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 1.27 ขณะที่ของใช้ส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ ๐.24 เนื้อสัตว์ต่างๆ ลดลงร้อยละ ๐.23 นอกจากนี้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 3.05 และสินค้าในหมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ ๐.13
       มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาล และการดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ยังคงมีส่วนช่วยทำให้ค่าครองชีพของประชาชนให้อยู่ในภาวะที่แสดงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ โดยสรุปเป็นดังนี้
       จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน ๔๑๗ รายการครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
       ๑. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม ๒๕๕๓
       ใน ปี ๒๕๕๐ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ ๑๐๐ และเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เท่ากับ ๑๐๘.๙๒ ( เดือนพฤศจิกายน 2553 คือ ๑๐๘.๗๕ )
       ๒. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เมื่อเทียบกับ
       ๒.๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๑๖
       ๒.๒ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ สูงขึ้นร้อยละ ๓.๐
       ๒.๓ เฉลี่ยทั้งปี ๒๕๕๓ เทียบกับปี ๒๕๕๒ สูงขึ้นร้อยละ ๓.๓
       ๓. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เทียบกับ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๑๖ (เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๒๑ ) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยสินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภคที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าว เนื้อสุกร ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผลไม้สด เครื่องปรุงอาหาร อาหารสำเร็จรูป น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าบ้าน และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ในขณะที่สินค้าราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ผักสด ผลไม้บางชนิด ไก่ย่าง ค่าน้ำประปา และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
       ๓.๑ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ ๐.๑๘ ( เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๒๒ ) สาเหตุสำคัญเป็นผลจากราคาสินค้าอาหารสดบางรายการมีระดับราคาลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ประกอบด้วย ผักสดแปรรูปและอื่นๆ ร้อยละ ๑๔.๕๒ ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี มะเขือเจ้าพระยา ถั่วฝักยาว มะนาว พริกสด ต้นหอม ขิง หัวหอมแดงและผลไม้บางชนิด ( กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน สับปะรด แตงโม มะละกอสุก ) เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของผักหลายชนิดและเป็นช่วงฤดูกาลของสินค้าเกษตร ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ไก่ย่าง ร้อยละ ๐.๑๐ ผู้ประกอบการปรับราคาลดลงเพื่อกระตุ้นยอดขาย และ ปลาและสัตว์น้ำบางชนิด ( ปลาทับทิม ปลาแดง ปลาทู กุ้งกุลาดำ) สำหรับสินค้าที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวร้อยละ ๐.๕๖ ( ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ) เนื้อสุกร ร้อยละ ๐.๐๘ ไก่สด ร้อยละ ๑.๖๐ ความต้องการบริโภคมีมากเนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยวและเฉลิมฉลอง ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ ๐.๒๙ ( ไข่ไก่ นมสด นมผง นมเปรี้ยว ครีมเทียม ) อากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อสุขภาพแม่ไก่ไข่ ทำให้ผลผลิตน้อยลง ผลไม้สด ร้อยละ ๐.๘๗ ( เงาะ มะม่วง ทุเรียน องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้มโอ ) เป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้บางชนิด เครื่องปรุงอาหาร ร้อยละ ๑.๒๓ ( น้ำมันพืช มะพร้าวขูด เครื่องปรุงรส ซีอิ๊ว) อาหารสำเร็จรูป ร้อยละ ๑.๒๗ ( กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป )
       ๓.๒ ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ ๐.๓๖ ( เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๒๐) สาเหตุสำคัญเป็นผลกระทบจากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศโดยเฉลี่ยปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ร้อยละ ๓.๐๕ ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเช่าบ้าน ร้อยละ ๐.๓๒ และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ร้อยละ ๐.๑๘ ( น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น )สำหรับสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ค่าน้ำประปา ร้อยละ ๑.๗๔ เป็นผลจากการประปาส่วนภูมิภาคได้ปรับลดอัตราค่าน้ำประปาลง ร้อยละ ๕๐ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่น้ำท่วมตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ถึงมกราคม ๒๕๕๔ และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ร้อยละ ๐.๑๙ ( สบู่ถูตัว แชมพูสระผม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว กระดาษชำระ )
       ๔. ถ้าพิจารณาดัชนีเทียบกับเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ สูงขึ้นร้อยละ 3.0 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ร้อยละ ๕.๖ ได้รับผลกระทบมาจาก ดัชนีหมวด ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ ๘.๓ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ ๔.๐ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ ๓.๒ ผักและผลไม้ ร้อยละ ๒๐.๗ เครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ ๕.๔ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ ๐.๙ และอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ ๒.๑ รวมทั้งผลกระทบจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ ๒.๐ (ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง) หมวดเคหสถาน ร้อยละ ๒.๐ (ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำประปา ) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ร้อยละ ๐.๔ (ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา ร้อยละ ๐.๗ ( การบันเทิง การอ่านและการศึกษา)และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ ๐.๒ ( ผ้าและเสื้อผ้า )
       5. ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ยทั้งปี ๒๕๕๓ เทียบกับปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 3.3 ทั้งนี้เนื่องจากในครึ่งปีแรกราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีราคาสูงขึ้น ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ปรับลดมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพในส่วนของค่าน้ำประปาลง ส่งผลให้ประชาชนต้องรับภาระค่าน้ำประปาเพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดและค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นบางเดือน ประกอบกับเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวที่ดี โดยตัวเลขการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกมีการขยายตัว ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะประสบปัญหาการเมืองภายในประเทศช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องถึงพฤษภาคมก็ตาม แต่ตัวเลขภาวะเงินเฟ้อครึ่งปีแรกสูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ สำหรับครึ่งปีหลังภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่ม ผันผวน ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีมีความแข็งแกร่ง และการดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิดของกระทรวงพาณิชย์ แม้ว่าเดือนตุลาคมจะเกิดอุทกภัยหลายแห่งในประเทศไทยก็ตาม แต่ส่งผลต่อดัชนีฯไม่มากนัก โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ร้อยละ ๒.๑
       สำหรับสินค้าอาหารสดและเครื่องดื่ม ราคาอาหารสดปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นในครึ่งปีแรก สำหรับครึ่งปีหลังราคาสินค้าอาหารสดบางประเภทยังมีระดับราคาที่ค่อนข้างสูง ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้และเครื่องประกอบอาหาร ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ร้อยละ ๕.๔
       ๖. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ ( คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ ๓๐๐ รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานจำนวน ๑๑๗ รายการ คิดเป็นประมาณร้อยละ ๒๔ ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
       ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เท่ากับ ๑๐๔.๒๑
       เมื่อเทียบกับ
       ๖.๑ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ สูงขึ้นร้อยละ ๐.๓๕
       ๖.๒ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ สูงขึ้นร้อยละ 1.๔
       ๖.๓ เฉลี่ยทั้งปี 2553 เทียบกับปี 2552 สูงขึ้นร้อยละ 1.๐
       ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ เดือนธันวาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 0.๓๕ ( เดือนพฤศจิกายน 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.02 )โดยมีผลกระทบมาจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวทั้งสูงขึ้นและลดลง สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ค่าเช่าบ้านและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ค่าน้ำประปา และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
      

    

  ดัชนีราคาผู้บริโภค.. ชุดทั่วไปประเทศ...
 เดือน ธันวาคม  ปี 2553  
(2562=100)
 

Code
หมวด
สัดส่วนน้ำหนัก
ปีฐาน
ดัชนี
อัตราการเปลี่ยนแปลง
GROUP AND SUBGROUP
 ธ.ค.53
พ.ย.53
ธ.ค.52
ธ.ค.53/
พ.ย.53
ธ.ค.53/
ธ.ค.52
ม.ค.-ธ.ค.53/
ม.ค.52-ธ.ค.52
0000
 รวมทุกรายการ
100.00   
89.07
88.93
  86.4
  .16
  3.0
  3.3
ALL COMMODITIES
1000
 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  40.35   
78.91
79.07
  74.7
 -0.18
  5.6
  5.4
FOOD AND NON - ALCOHOLIC BEVERAGES
1110
      ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
  4.09   
89.28
88.90
  82.4
  .43
  8.3
10.1
RICE, FLOUR AND CEREAL PRODUCTS
1120
      เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ
  8.93   
76.34
76.09
  73.3
  .33
  4.0
  3.6
MEATS, POULTRY AND FISH
1121
      เนื้อสัตว์
  3.54   
75.65
75.48
  74.7
  .23
  1.3
  3.4
MEATS
1122
      เป็ด ไก่
  1.57   
84.27
83.52
  82.4
  .89
  2.3
  3.9
DUCK, CHICKEN AND FROG
1123
      ปลาและสัตว์น้ำ
  3.83   
74.06
73.94
  68.7
  .17
  7.7
  3.7
FISH AND AQUATIC ANIMALS
1130
      ไข่และผลิตภัณฑ์นม
  2.05   
91.18
90.92
  88.3
  .29
  3.2
  3.2
EGGS AND DAIRY PRODUCTS
1140
      ผักและผลไม้
  5.47   
68.32
72.65
  56.6
-5.96
20.7
24.1
VEGETABLES AND FRUITS
1150
      เครื่องประกอบอาหาร
  2.17   
79.24
78.12
  75.2
  1.42
  5.4
  2.9
SEASONINGS AND CONDIMENTS
1160
      เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  2.21   
90.27
90.17
  89.4
  .12
  0.9
  1.2
NON-ALCOHOLIC BEVERAGES
1200
   อาหารสำเร็จรูป
  15.42   
79.37
78.37
  77.7
  1.27
  2.1
  1.0
PREPARED FOOD
1210
      อาหารบริโภค-ในบ้าน
  8.70   
77.56
76.75
  76.0
  1.06
  2.1
  1.1
PREPARED FOOD AT HOME
1220
      อาหารบริโภค-นอกบ้าน
  6.72   
81.64
80.40
  79.9
  1.54
  2.2
  0.9
FOOD AWAY FROM HOME
2000
 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
  2.23   
95.68
95.60
  95.5
  .08
  0.2
-1.0
APPAREL AND FOOTWARE
3000
 หมวดเคหสถาน
  23.17   
92.27
92.14
  90.4
  .13
  2.0
  2.0
HOUSING AND FURNISHING
3100
   ค่าที่พักอาศัย
  15.49   
94.86
94.57
  94.2
  .31
  0.7
  0.4
SHELTER
3110
      ค่าเช่า
  14.62   
94.91
94.62
  94.3
  .31
  0.7
  0.3
HOUSE RENT
3200
   ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง
  5.49   
81.79
82.20
  75.5
 -0.5
  8.5
  9.7
ELECTRICITY, FUEL AND WATER SUPPLY
3300
   สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน
  .15   
97.27
96.75
  96.3
  .54
  1.0
  0.2
TEXTILE - HOUSE FURNISHING
3600
   สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด
  1.64   
94.38
94.19
  93.5
  .18
  1.0
  0.4
CLEANIMG SUPPLIES
4000
 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
  5.68   
93.81
93.90
  93.4
 -0.11
  0.4
  0.8
MEDICAL AND PERSONAL CARE
4100
   ค่าตรวจรักษาและค่ายา
  1.22   
91.99
91.99
  91.9
  .00
  0.1
  0.2
MEDICAL CARE
4200
   ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
  4.21   
93.29
93.46
  92.6
 -0.19
  0.7
  1.2
PERSONAL CARE EXPENDITURES
5000
 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
  22.67   
101.44
100.65
  99.4
  .77
  2.0
  3.8
TRANSPORTATION AND COMMUNICATION
5100
   ค่าโดยสารสาธารณะ
  1.37   
92.46
92.46
  91.9
  .00
  0.5
  0.5
PUBLIC TRANSPORTATION SERVICES
5200
   ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
  15.18   
103.38
101.87
  99.6
  1.48
  3.7
  6.9
VEHICLES AND VEHICLE OPERATION
5400
   การสื่อสาร
  4.35   
100.51
100.64
100.7
 -0.13
 -0.1
  0.0
COMMUNICATION AND EQUIPMENTS
6000
 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา
  4.51   
95.18
95.04
  94.5
  .15
  0.7
-3.5
RECREATION AND EDUCATION
7000
 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  1.39   
71.24
71.24
  71.3
  .01
 -0.2
  4.8
TOBACCO AND ALCOHOLIC BEVERAGES
8000
 หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม
  59.65   
95.59
95.25
  94.0
  .36
  1.6
  2.1
NON-FOOD AND BEVERAGES
9000
 กลุ่มอาหารสดและพลังงาน
  32.94   
85.71
85.99
  79.5
 -0.33
  7.7
10.1
RAW FOOD AND ENERGY
9100
   อาหารสด
  20.55   
77.43
78.68
  70.8
-1.60
  9.3
10.3
RAW FOOD
9200
   พลังงาน
  12.39   
99.60
97.50
  95.2
  2.16
  4.7
  9.7
ENERGY
9300
   ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
  67.06   
90.55
90.24
  89.3
  .35
  1.4
  1.0
EXCLUDE RAW FOOD AND ENERGY
หมายเหตุ..... : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน หมายถึง ดัชนีผู้บริโภคชุดทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงาน    

กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5849 โทรสาร. 0 2507 5825