Download ......

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ...

เดือน พฤศจิกายน  2560


 

       ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน 2560 เท่ากับ 101.45 เมื่อเทียบกับ

       ระยะเวลา การเปลี่ยนแปลง ร้อยละ
       1.1 เดือนตุลาคม 2560 (MoM) สูงขึ้น 0.07
       1.2 เดือนพฤศจิกายน 2559 (YoY) สูงขึ้น 0.99
       1.3 เฉลี่ย 11 เดือน 2560 (AoA) สูงขึ้น 0.66
       (ม.ค.-พ.ย.2560)/ (ม.ค.-พ.ย.2559)
      
       อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤศจิกายน 2560 ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.99 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ผลจากการปรับขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับตามราคาน้ำมันดิบ จากการขยายระยะเวลาลดการผลิตของกลุ่ม OPEC และการปรับราคาค่าเช่าบ้านบางจังหวัด ตลอดจนการทยอยขึ้นของราคาบุหรี่ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 11 เดือนขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.66 (AoA) อยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2560 ร้อยละ 0.4 - 1.0
      
       1.1 ระดับราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2560 สูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 0.07 (MoM) มี ดังนี้
       กลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 1.70 จากน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 2.42 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ยกเว้น ก๊าซ NGV) จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ปรับลดลง ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.36
      
       อาหารสด ลดลงร้อยละ -1.04 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตของผักสดและผลไม้เข้าสู่ตลาดมากขึ้นรวมทั้งเนื้อสัตว์ ขณะที่ความต้องการบริโภคคงที่ทำให้ราคาลดลง ได้แก่ ผักคะน้า ผักขึ้นฉ่าย หัวผักกาดขาว ผักกาดหอม กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน มะพร้าวอ่อน เนื้อสุกร ไก่สด ปลาดุก และไข่ไก่ ส่งผลให้หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.42
      
       สินค้าอื่น ๆ ได้แก่ บุหรี่ ปรับสูงขึ้นร้อยละ 0.40 โดยทยอยปรับขึ้นในบางพื้นที่ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ขณะที่สินค้าบางรายที่ปรับลดลง ได้แก่ เบียร์ สุรา เครื่องใช้ไฟฟ้า (ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องรับโทรทัศน์) ปรับราคาลดลงจากโปรโมชั่นใกล้สิ้นปี 2560
      
       1.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2559 อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้นร้อยละ 0.99 (YoY) จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่สูงขึ้นตามความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ค่ากระแสไฟฟ้า เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป บุหรี่และสุรา เป็นสำคัญ
       1.3 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือนม.ค.-พ.ย.2560 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (AoA)
       1.4 กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2561 มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยระหว่างร้อยละ 0.6 - 1.6 ต่อปี
      
       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2560
      
       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้สอยครอบคลุม
       หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าปีฐาน 2558 ทั้งหมด 422 รายการ โดยมีรายละเอียดของดังนี้
      
       1. เทียบเดือนตุลาคม 2560 (MoM) สูงขึ้น ร้อยละ 0.07 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
      
       สาเหตุจากหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ +0.36 ได้แก่ หมวดยานพาหนะ การขนส่งฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.82 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 2.42 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ยกเว้น ก๊าซธรรมชาติ NGV) โดยกลุ่ม OPEC ลดปริมาณการผลิตและค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษที่ปรับสู่ราคาเดิม ค่าเช่าบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.05 ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.18 (บุหรี่) โดยปรับขึ้นในบางพื้นที่ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ขณะที่มีสินค้าและบริการปรับลดราคา ได้แก่ เบียร์ สุรา เครื่องใช้ไฟฟ้า (ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องรับโทรทัศน์ ) ปรับราคาลดลงจากโปรโมชั่นใกล้สิ้นปี
       หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.42 ตามการลดลงของหมวดผักและผลไม้ ร้อยละ -2.94 ได้แก่ ผักสดลดลงร้อยละ -5.50 (ผักคะน้า ผักขึ้นฉ่าย หัวผักกาดขาว ผักกาดหอม) ผลไม้ลดลงร้อยละ -1.55 (กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน มะพร้าวอ่อน มะละกอสุก องุ่น) รวมทั้งการลดลงของ ไก่สด เนื้อสุกร และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ กาแฟผงสำเร็จรูป ชาและกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ซึ่งไม่เกินราคาควบคุม
      
       2. เทียบเดือนพฤศจิกายน 2559 (YoY) สูงขึ้น ร้อยละ 0.99 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวด ดังนี้
       สาเหตุจากหมวดหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.03 ได้แก่ กะทิสำเร็จรูป มะพร้าวขูด ซีอิ๊ว ซอสพริก มะขามเปียก น้ำพริกแกง กาแฟผงสำเร็จรูป ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม หมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 1.13 (ค่าเช่าบ้าน ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.27 (ค่ายา ค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอก ค่าทำฟัน ค่าเจาะเลือด) หมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 2.54 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.53 (ค่าทัศนาจรภายใน-ต่างประเทศ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.76 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) ส่วนหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.11 (เสื้อผ้าสตรี/เด็ก รองเท้าบุรุษ/สตรี)
      
       3. เฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.- พ.ย. 2560) เทียบกับ (ม.ค.-พ.ย.2559)(AoA) สูงขึ้นร้อยละ 0.66 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำแนกตามหมวด ดังนี้
       สาเหตุจากหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.04 ประกอบด้วย หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 2.45 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ 0.56 (ค่าทัศนาจร ค่าการศึกษา) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.73 (บุหรี่ เบียร์ ไวน์ สุรา) รวมทั้งหมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.29 (ค่ายา ค่าของใช้ส่วนบุคคล) และหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 0.08 (ค่าเช่าบ้าน ก๊าซหุงต้ม) ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ -0.01 (เสื้อสตรี เสื้อเด็ก รองเท้าบุรุษ/สตรี) และหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.02 (ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผักสด ผลไม้)
      
       4. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560 กระทรวงพาณิชย์ปรับการประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2560 ร้อยละ 0.4 -1.0 ต่อปี โดยมีสมมติฐานหลักคือ
       สมมติฐาน ช่วงประมาณการ
       1. การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทย (%) 3.50 (3.0 - 4.0) ขยายตัวอย่างสม่ำเสมอจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่สูงขึ้นและการส่งออกที่ฟื้นตัว
       การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่สูงขึ้นตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น
       มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยลดค่าใช้จ่าย
       การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก
       การท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
       การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
       2. ราคาน้ำมันดิบดูไบ (USD / Barrel) 50.0 (45.0 - 55.0) มีความต้องการใช้มากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
       การรวมตัวผู้ผลิตน้ำมันปรับลดกำลังการผลิตลง
       มีความต้องการใช้มากขึ้นในช่วงหน้าหนาว และตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
       ความขัดแย้งทางการเมืองในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและภัยธรรมชาติ
       3. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท / USD) 34.0 (33.5 - 34.5) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าช่วงปลายปี
       ปัจจัยการไหลเข้าของกระแสเงินทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
       การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติคลายความกังวลกับสถานการณ์การเมืองของไทย
       ความไม่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ
       สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
      
       5. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
       ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสี่ยง
       อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการการผลิตและรายได้เกษตรกร และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยลดค่าใช้จ่าย ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
       การส่งออกที่มีการขยายตัวเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของการค้าโลก และจำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ผลจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย ขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบถึงสิ้นปี 2561 (เดิม มีนาคม 2561)
       การใช้จ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2560 ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน
      
       -------------------------------------------------------------------------
       Concept ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ปีฐาน 2558 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ ทั้งสิ้น 422 รายการ (ปีฐาน 2554
       มีจำนวน 450 รายการ) ครอบคลุมสินค้าและบริการ 7 หมวดที่จำเป็นต่อการครองชีพ ได้แก่ 1) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
       2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3) หมวดเคหสถาน 4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 5) หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 6) หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา ฯลฯ 7) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยการคํานวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า "ปีฐาน" ที่กําหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 ทั้งนี้ ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีปีฐาน 2558 ได้แก่ ครัวเรือนในเขตเทศบาล ที่สมาชิกจำนวน 1 - 5 คนและมีรายได้ระหว่าง 12,000 - 62,000 บาทต่อเดือน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 43 จังหวัด1
      
       1 43 จังหวัด ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคกลาง 5.อยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ ภาคเหนือ 16.นครสวรรค์ 17.ตาก 18.แพร่ 19.เชียงใหม่ 20.เชียงราย 21.อุตรดิตถ์ 22.พิษณุโลก 23.เพชรบูรณ์ 24.น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.นครราชสีมา 26.ขอนแก่น 27.สุรินทร์ 28.อุบลราชธานี 29.หนองคาย 30.ศรีสะเกษ 31.มุกดาหาร 32.อุดรธานี 33.ร้อยเอ็ด 34.นครพนม ภาคใต้ 35.สุราษฎร์ธานี 36.นครศรีธรรมราช 37.ตรัง 38.สงขลา39.ยะลา 40.ภูเก็ต 41.กระบี่ 42. นราธิวาส 43.ระนอง
      
      
      
      
      
      
      

    

  ดัชนีราคาผู้บริโภค.. ชุดทั่วไปประเทศ...
 เดือน พฤศจิกายน  ปี 2560  
(2562=100)
 

Code
หมวด
สัดส่วนน้ำหนัก
ปีฐาน
ดัชนี
อัตราการเปลี่ยนแปลง
GROUP AND SUBGROUP
 พ.ย.60
ต.ค.60
พ.ย.59
พ.ย.60/
ต.ค.60
พ.ย.60/
พ.ย.59
ม.ค.-พ.ย.60/
ม.ค.59-พ.ย.59
0000
 รวมทุกรายการ
100.00   
98.83
98.76
97.87
  .07
  .99
  .66
ALL COMMODITIES
1000
 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  40.35   
97.65
98.06
97.62
 -0.42
  .03
 -0.02
FOOD AND NON - ALCOHOLIC BEVERAGES
1110
      ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
  4.09   
92.18
91.46
93.35
  .79
-1.25
-1.98
RICE, FLOUR AND CEREAL PRODUCTS
1120
      เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ
  8.93   
96.56
97.07
97.42
 -0.52
 -0.87
 -0.11
MEATS, POULTRY AND FISH
1121
      เนื้อสัตว์
  3.54   
94.10
95.30
97.88
-1.26
-3.86
-2.56
MEATS
1122
      เป็ด ไก่
  1.57   
100.00
100.18
99.85
 -0.18
  .15
  .92
DUCK, CHICKEN AND FROG
1123
      ปลาและสัตว์น้ำ
  3.83   
97.30
97.34
95.91
 -0.04
  1.45
  1.89
FISH AND AQUATIC ANIMALS
1130
      ไข่และผลิตภัณฑ์นม
  2.05   
97.65
98.43
101.16
 -0.8
-3.47
-2.15
EGGS AND DAIRY PRODUCTS
1140
      ผักและผลไม้
  5.47   
100.23
103.26
101.23
-2.94
 -0.99
-2.74
VEGETABLES AND FRUITS
1150
      เครื่องประกอบอาหาร
  2.17   
98.44
98.34
98.24
  .10
  .20
  1.23
SEASONINGS AND CONDIMENTS
1160
      เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  2.21   
97.86
97.57
97.16
  .30
  .72
  .88
NON-ALCOHOLIC BEVERAGES
1200
   อาหารสำเร็จรูป
  15.42   
98.28
98.25
97.17
  .03
  1.13
  1.16
PREPARED FOOD
1210
      อาหารบริโภค-ในบ้าน
  8.70   
98.74
98.74
97.55
  .00
  1.22
  1.13
PREPARED FOOD AT HOME
1220
      อาหารบริโภค-นอกบ้าน
  6.72   
97.79
97.75
96.80
  .05
  1.03
  1.17
FOOD AWAY FROM HOME
2000
 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
  2.23   
99.63
99.61
99.74
  .02
 -0.11
 -0.01
APPAREL AND FOOTWARE
3000
 หมวดเคหสถาน
  23.17   
99.21
99.12
98.10
  .10
  1.13
  .08
HOUSING AND FURNISHING
3100
   ค่าที่พักอาศัย
  15.49   
99.23
99.18
98.93
  .05
  .31
  .35
SHELTER
3110
      ค่าเช่า
  14.62   
99.23
99.18
98.92
  .05
  .32
  .37
HOUSE RENT
3200
   ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง
  5.49   
98.77
98.51
94.74
  .26
  4.26
 -0.63
ELECTRICITY, FUEL AND WATER SUPPLY
3300
   สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน
  .15   
100.73
100.62
101.74
  .11
 -0.99
 -0.74
TEXTILE - HOUSE FURNISHING
3600
   สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด
  1.64   
100.35
100.21
100.21
  .14
  .14
 -0.23
CLEANIMG SUPPLIES
4000
 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
  5.68   
99.43
99.29
99.17
  .14
  .27
  .29
MEDICAL AND PERSONAL CARE
4100
   ค่าตรวจรักษาและค่ายา
  1.22   
98.65
98.65
97.93
  .00
  .74
  .56
MEDICAL CARE
4200
   ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
  4.21   
99.53
99.34
99.36
  .19
  .17
  .29
PERSONAL CARE EXPENDITURES
5000
 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
  22.67   
99.89
99.08
97.41
  .82
  2.54
  2.45
TRANSPORTATION AND COMMUNICATION
5100
   ค่าโดยสารสาธารณะ
  1.37   
95.68
95.38
95.20
  .31
  .50
  .14
PUBLIC TRANSPORTATION SERVICES
5200
   ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
  15.18   
100.40
99.23
96.54
  1.19
  4.00
  4.16
VEHICLES AND VEHICLE OPERATION
5400
   การสื่อสาร
  4.35   
100.09
100.09
100.11
  .00
 -0.02
 -0.03
COMMUNICATION AND EQUIPMENTS
6000
 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา
  4.51   
99.23
99.22
98.70
  .01
  .53
  .56
RECREATION AND EDUCATION
7000
 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  1.39   
99.81
99.63
94.37
  .18
  5.76
  2.73
TOBACCO AND ALCOHOLIC BEVERAGES
8000
 หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม
  59.65   
99.53
99.17
98.01
  .36
  1.55
  1.04
NON-FOOD AND BEVERAGES
9000
 กลุ่มอาหารสดและพลังงาน
  32.94   
98.23
98.12
96.32
  .11
  1.99
  .95
RAW FOOD AND ENERGY
9100
   อาหารสด
  20.55   
96.86
97.88
98.04
-1.04
-1.21
-1.41
RAW FOOD
9200
   พลังงาน
  12.39   
100.12
98.45
93.54
  1.70
  7.03
  4.93
ENERGY
9300
   ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
  67.06   
99.06
99.01
98.46
  .06
  .61
  .55
EXCLUDE RAW FOOD AND ENERGY
หมายเหตุ..... : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน หมายถึง ดัชนีผู้บริโภคชุดทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงาน    

กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5849 โทรสาร. 0 2507 5825