Download ......

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ...

เดือน มกราคม  2559


 

       ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม ปี 2559 ยังคงทรงตัวจากช่วงไตรมาสที่ 4/2558 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 0 ทั้งนี้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงนั้นได้รับผลกระทบจากสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารเนื่องจากการปรับราคาลงของน้ำมันเชื้อเพลิง ขายปลีกในประเทศ ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ 91 95 น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน 95 ในส่วนของสินค้าและบริการอื่นๆ เพื่อการอุปโภคและบริโภคอาทิ อาหารสด ของใช้ภายในบ้าน และค่าของใช้ส่วนบุคคลราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะอุปสงค์และอุปทานของตลาด อย่างไรก็ตามผลกระทบของสินค้าและบริการข้างต้นต่ออัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงและน้อยกว่าผลกระทบของราคาพลังงาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2559 ยังคงติดลบต่อเนื่อง

       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมกราคม 2559 (ดัชนีปี 2554 เท่ากับ100) เท่ากับ 105.46 ลดลงร้อยละ 0.53 (YoY) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2559 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2558 ยังคงได้รับแรงกดดันจากสินค้าและบริการในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเป็นหลักส่งผลกระทบในทางลบต่ออัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยร้อยละ -0.93 อาทิ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าโดยสารภายในประเทศอาทิ ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 และค่าโดยสารเรือเริ่มปรับตัวลดลงตาม โดยที่การปรับลดของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ -15.30) และค่าโดยสารรถและเรือข้างต้น (ร้อยละ -4.54 และ –9.51) ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2559 ร้อยละ -0.93 ร้อยละ -0.004 และ ร้อยละ -0.001 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าเพื่อการบริโภคในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (อาทิ อาหารสำเร็จรูป ผักและผลไม้สด ปลาและสัตว์น้ำ) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ค่าใช้จ่ายและค่าของใช้ส่วนบุคคล ค่าตรวจรักษาและค่ายา ค่าเบี้ยประกันชีวิต) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยและส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.02
      
       เมื่อเทียบเดือนธันวาคม 2558 อัตราเงินเฟ้อมีค่าเท่ากับ -0.26 (MoM) โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดราคาลงของกลุ่มอาหารสดและพลังงาน อาทิ 1) ผักและผลไม้ (ร้อยละ -1.69 ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก 2) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ (ร้อยละ -3.92) 3) ค่ากระแสไฟฟ้า (ร้อยละ –0.73) เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ในรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2559 ให้ลดลงเท่ากับ 4.80 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ การปรับราคาสินค้าข้างต้นส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อร้อยละ -0.07 -0.20 -0.03 ตามลำดับ
      
       คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2559 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-2.00 โดยมีสมมติฐานหลัก คือ 1) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ร้อยละ 3.0-4.0 2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ระหว่าง 48-54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล 3) อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 36-38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
      
       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2559
      
       ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนใช้สอยครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด 450 รายการ
      
       อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 0 สะท้อนว่าว่าผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าบริการจำนวนเท่าเดิมได้ในราคาที่ต่ำลง อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่แต่ละครัวเรือนนั้นขึ้นอยู่กับรสนิยมและประเภทของสินค้าและบริการที่แต่ละครัวเรือนใช้สอย ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2559 สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
       1.ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2559 (ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100) มีค่าเท่ากับ 105.46 (เดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 105.74 )
      
       2.การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนมกราคม 2559 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนธันวาคม 2558 (MoM) ลดลง ร้อยละ 0.26 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวดแสดงได้ดังภาพที่ 1
      
       อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2559 ลดลงจากเดือนธันวาคม 2558 (MoM) ร้อยละ 0.26 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของหมวดพลังงาน ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ได้แก่ น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ E85 E20 แก๊สโซฮอล์ 91 95 และน้ำมันเบนซิน 95 ประกอบกับการลดลง ของค่าโดยสารเรือ และค่ากระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ หมวดผักและผลไม้สด รวมทั้งไข่ไก่ เนื้อสุกร และไก่สด มีราคาปรับตัวลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก
      
       2.2 เดือนมกราคม 2558 (YoY) ลดลง ร้อยละ 0.53 โดยมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าและบริการจำแนกตามหมวดแสดงได้
       อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2559 ลดลงจากเดือนมกราคม 2558 (YoY) ร้อยละ 0.53 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของหมวดพลังงาน ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ได้แก่ น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอล์ E85 E20 แก๊สโซฮอล์ 91 95 และน้ำมันเบนซิน 95 นอกจากนี้ยังมีการปรับลดลงของค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารเรือ ค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อย่างไรก็ตาม หมวดผักและผลไม้สด ปลาและสัตว์น้ำ อาหารบริโภคนอกบ้านและในบ้าน ค่าเช่าบ้าน ค่าตรวจรักษาและค่ายา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ มีราคาสูงขึ้น
      
       3. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2559 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-2.00 โดยมีสมมติฐานหลัก คือ 1) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ร้อยละ 3.0-4.0) 2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ระหว่าง 48-54 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล 3) อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 36-38 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงดอลล่าร์สหรัฐและ ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมกราคม 2559 เท่ากับ 36.16 บาทต่อดอลล่าร์ และ 26.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
      
       4. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ
       4.1 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจากปัญหาอุปทานส่วนเกิน
       4.2 อัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ปรับลดลงตามต้นทุนก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ในรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2559 ลดลงเท่ากับ 4.80 สตางค์ต่อหน่วย
       4.3 ค่าโดยสารสาธารณะ ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารเรือ ปรับลดลงตามต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง
       4.4 ราคารถยนต์ปรับสูงขึ้นจากโครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ที่จัดเก็บจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
       4.5 กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้มีการปรับลดราคาสินค้าลงตามต้นทุนน้ำมัน และค่าขนส่ง โดยในขณะนี้มีผู้ประกอบการสินค้าลดราคาสินค้าใน 9 หมวดรายการสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ นมผง ข้าวสาร ปูนซีเมนต์ และเหล็กเส้น
       ---------------------------------------------------------------------------
      
       หมายเหตุ:
       คำอธิบายข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อ (A Brief Explanation of Consumer Price Index (CPI) and Infaltion)
       ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และบริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคจ่ายไปสําหรับกลุ่มสินค้าและบริการที่กําหนด หรือมีจําเพาะ เรียกว่า “ตระกร้าสินค้า” อันประกอบไปด้วยสินค้าและบริการ 1) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม 2) เครื่องนุ่งห่ม 3) เคหะสถาน 4) การตรวจรักษาและบริการส่วน บุคคล 5) ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร 6) การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ 7) ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยการคํานวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า ปีฐาน (ปีฐานปัจจุบัน คือ ปี 2554) ซึ่งกําหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีได้แก่ ครัวเรือนในเขตเทศบาลที่สมาชิกจำนวน 1 – 5 คนและมีรายได้ระหว่าง 10,000 – 60,000 บาทต่อเดือน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 43 จังหวัด1
      
       อัตราเงินเฟ้อทั่วไป คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยที่ผู้บริโภคทั่วไปจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจํานวนหนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง ๆ เทียบกับปีฐาน (ปีฐานปัจจุบัน คือ ปี 2554)
       ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด (ซึ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงบ่อยและเป็นลักษณะตามฤดูกาล) และสินค้ากลุ่มพลังงาน (ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน) ออกไปเหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด เพื่อวัดเงินเฟ้อพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ
      
       อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานโดยคํานวณจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานซึ่งสินค้าที่หักออกมีความเคลื่อนไหวขึ้นลงบ่อยตามฤดูกาลและอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงินเหลือเพียงรายการ
       สินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด
       สรุปคือ ดัชนีราคาผู้บริโภคใช้เป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของ ประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้เศรษฐกิจตัวหนึ่ง ในการวิเคราะห์ จะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า เช่น ปัจจัยที่มีผล ต่อต้นทุนการผลิต ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม นอกจากนี้เป็นค่าสาธารณูปโภค ค่าภาษีสรรพสามิต และปัจจัยอื่นๆ ถ้าปัจจัยต่างๆ มีผลกระทบ ต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า จะทําให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน และมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย
      
       1 43 จังหวัดที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคกลาง 5.อยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ ภาคเหนือ 16.นครสวรรค์ 17.ตาก 18.แพร่ 19.เชียงใหม่ 20.เชียงราย 21.อุตรดิตถ์ 22.พิษณุโลก 23.เพชรบูรณ์ 24.น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.นครราชสีมา 26.ขอนแก่น 27.สุรินทร์ 28.อุบลราชธานี 29.หนองคาย 30.ศรีสะเกษ 31.มุกดาหาร 32.อุดรธานี 33.ร้อยเอ็ด 34.นครพนม ภาคใต้ 35.สุราษฎร์ธานี 36.นครศรีธรรมราช 37.ตรัง 38.สงขลา39.ยะลา 40.ภูเก็ต 41.กระบี่ 42. นราธิวาส 43.ระนอง
      
      

    

  ดัชนีราคาผู้บริโภค.. ชุดทั่วไปประเทศ...
 เดือน มกราคม  ปี 2559  
(2562=100)
 

Code
หมวด
สัดส่วนน้ำหนัก
ปีฐาน
ดัชนี
อัตราการเปลี่ยนแปลง
GROUP AND SUBGROUP
 ม.ค.59
ธ.ค.58
ม.ค.58
ม.ค.59/
ธ.ค.58
ม.ค.59/
ม.ค.58
ม.ค.-ม.ค.59/
ม.ค.58-ม.ค.58
0000
 รวมทุกรายการ
100.00   
96.65
96.90
97.17
 -0.26
 -0.53
 -0.53
ALL COMMODITIES
1000
 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  40.35   
95.78
95.94
95.02
 -0.16
  .81
  .81
FOOD AND NON - ALCOHOLIC BEVERAGES
1110
      ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง
  4.09   
94.06
94.12
94.15
 -0.06
 -0.09
 -0.09
RICE, FLOUR AND CEREAL PRODUCTS
1120
      เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ
  8.93   
96.22
96.11
95.39
  .10
  .87
  .87
MEATS, POULTRY AND FISH
1121
      เนื้อสัตว์
  3.54   
97.03
97.18
97.69
 -0.16
 -0.68
 -0.68
MEATS
1122
      เป็ด ไก่
  1.57   
99.12
99.04
100.01
  .08
 -0.89
 -0.89
DUCK, CHICKEN AND FROG
1123
      ปลาและสัตว์น้ำ
  3.83   
94.21
93.85
91.33
  .38
  3.16
  3.16
FISH AND AQUATIC ANIMALS
1130
      ไข่และผลิตภัณฑ์นม
  2.05   
99.43
99.42
99.10
  .01
  .34
  .34
EGGS AND DAIRY PRODUCTS
1140
      ผักและผลไม้
  5.47   
92.37
93.96
90.01
-1.69
  2.61
  2.61
VEGETABLES AND FRUITS
1150
      เครื่องประกอบอาหาร
  2.17   
96.78
96.88
97.43
 -0.1
 -0.66
 -0.66
SEASONINGS AND CONDIMENTS
1160
      เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
  2.21   
96.51
96.31
96.38
  .21
  .14
  .14
NON-ALCOHOLIC BEVERAGES
1200
   อาหารสำเร็จรูป
  15.42   
96.27
96.22
95.52
  .05
  .80
  .80
PREPARED FOOD
1210
      อาหารบริโภค-ในบ้าน
  8.70   
96.65
96.61
96.03
  .04
  .65
  .65
PREPARED FOOD AT HOME
1220
      อาหารบริโภค-นอกบ้าน
  6.72   
95.90
95.84
94.90
  .07
  1.06
  1.06
FOOD AWAY FROM HOME
2000
 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
  2.23   
99.57
99.58
99.07
 -0.01
  .51
  .51
APPAREL AND FOOTWARE
3000
 หมวดเคหสถาน
  23.17   
99.18
99.26
99.45
 -0.08
 -0.28
 -0.28
HOUSING AND FURNISHING
3100
   ค่าที่พักอาศัย
  15.49   
98.54
98.51
97.77
  .03
  .79
  .79
SHELTER
3110
      ค่าเช่า
  14.62   
98.50
98.46
97.72
  .04
  .80
  .80
HOUSE RENT
3200
   ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง
  5.49   
100.62
101.14
104.01
 -0.51
-3.26
-3.26
ELECTRICITY, FUEL AND WATER SUPPLY
3300
   สิ่งทอสำหรับใช้ในบ้าน
  .15   
101.51
101.82
101.77
 -0.31
 -0.25
 -0.25
TEXTILE - HOUSE FURNISHING
3600
   สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด
  1.64   
100.40
100.07
100.99
  .33
 -0.58
 -0.58
CLEANIMG SUPPLIES
4000
 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
  5.68   
98.85
98.62
97.89
  .24
  .98
  .98
MEDICAL AND PERSONAL CARE
4100
   ค่าตรวจรักษาและค่ายา
  1.22   
97.68
97.63
96.40
  .06
  1.33
  1.33
MEDICAL CARE
4200
   ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล
  4.21   
98.95
98.82
98.13
  .12
  .83
  .83
PERSONAL CARE EXPENDITURES
5000
 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร
  22.67   
94.89
95.71
98.74
 -0.86
-3.91
-3.91
TRANSPORTATION AND COMMUNICATION
5100
   ค่าโดยสารสาธารณะ
  1.37   
95.34
95.37
94.81
 -0.04
  .55
  .55
PUBLIC TRANSPORTATION SERVICES
5200
   ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
  15.18   
92.21
93.60
98.83
-1.48
-6.70
-6.70
VEHICLES AND VEHICLE OPERATION
5400
   การสื่อสาร
  4.35   
100.15
100.15
100.18
  .00
 -0.03
 -0.03
COMMUNICATION AND EQUIPMENTS
6000
 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษา และการศาสนา
  4.51   
98.23
98.22
97.11
  .01
  1.16
  1.16
RECREATION AND EDUCATION
7000
 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
  1.39   
83.56
83.56
82.10
  .00
  1.78
  1.78
TOBACCO AND ALCOHOLIC BEVERAGES
8000
 หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม
  59.65   
97.17
97.46
98.40
 -0.31
-1.25
-1.25
NON-FOOD AND BEVERAGES
9000
 กลุ่มอาหารสดและพลังงาน
  32.94   
93.57
94.67
97.01
-1.17
-3.55
-3.55
RAW FOOD AND ENERGY
9100
   อาหารสด
  20.55   
95.12
95.52
94.11
 -0.42
  1.06
  1.06
RAW FOOD
9200
   พลังงาน
  12.39   
91.09
93.38
101.81
-2.45
-10.52
-10.52
ENERGY
9300
   ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน
  67.06   
97.81
97.75
97.24
  .07
  .59
  .59
EXCLUDE RAW FOOD AND ENERGY
หมายเหตุ..... : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน หมายถึง ดัชนีผู้บริโภคชุดทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงาน    

กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5849 โทรสาร. 0 2507 5825