Download ..

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้ผลิต

เดือน ตุลาคม  2558


 
      กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนตุลาคม 2558 โดยสรุปดังนี้

       จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิต จำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 596 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนตุลาคม 2558
       ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนตุลาคม 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.2 และเดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.2
      
       2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนตุลาคม 2558 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนกันยายน 2558 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (0.0)
       2.2 เดือนตุลาคม 2557 ลดลงร้อยละ 3.1 (-3.1)
       2.3 เฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม - ตุลาคม 2558) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (มกราคม -ตุลาคม 2557) ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.4 (-4.4)
      
       3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนตุลาคม 2558 เทียบกับเดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองสูงขึ้นร้อยละ 0.1 และ 1.0 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1
      
       สินค้าผู้ผลิตหมวดที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นและลดลง
       ตารางที่ 1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ต.ค.58 / ก.ย.58
       ผลปาล์มสด +12.6
       มะพร้าวผล +17.8
       แตงกวา +8.6
       มะเขือ +14.5
       มะเขือเทศ +28.5
       ข้าวโพดฝักอ่อน +12.3
       ผักคะน้า +73.3
       ผักกาดขาว +0.5
       ผักกาดหอม +65.0
       ผักบุ้ง +11.9
       ถั่วฝักยาว +19.5
       ต้นหอม +12.4
       ผักชี +114.1
       ผักกาดหัว +27.6
       ผักคื่นฉ่าย +44.8
       กะหล่ำดอก +5.2
       ผักกวางตุ้ง +21.8
       พริกชี้ฟ้าสด +9.3
       เห็ด +1.5
       บวบ +9.5
       มะระจีน +11.6
       มะนาว +56.5
       องุ่น +6.2
       กล้วยหอม +0.7
       สับปะรดโรงงาน +4.6
       มะพร้าวอ่อน +5.3
       ส้มโอ +2.5
       กล้วยไข่ +8.5
       ไก่มีชีวิต -3.7
       ไข่ไก่ +1.4
       ไข่เป็ด -2.3
       ปลาช่อน -3.2
       ปลาดุก -0.5
       ปลาตะเพียน -6.7
       ปลานิล -0.6
       ปลาลัง -5.7
       ปลาอินทรี -5.9
       ปลากะพง -5.5
       ปลาทรายแดง -32.2
       ปลาโอ -1.4
       ปลาจาระเม็ด -6.5
       กุ้งแวนนาไม -5.8
      
       3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.1 (เดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.4) สินค้าเกษตรสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น คือ ผลผลิตการเกษตร พืชน้ำมัน ผลปาล์มสด ภาวะการค้าคล่องตัวขึ้น จากการรับซื้อผลผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปผลิตพลังงานทดแทน มะพร้าวผล ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการใช้มีอย่างต่อเนื่อง พืชผัก ได้แก่ แตงกวา มะเขือ มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ต้นหอม ผักชี ผักกาดหัว ผักคื่นฉ่าย กะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง พริกชี้ฟ้าสด เห็ด แตงร้าน บวบ มะระจีน โดยเฉพาะมะนาว ราคาปรับตัวสูงขึ้น จากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยตามฤดูกาล ผลไม้ ได้แก่ องุ่น กล้วยหอม สับปะรดโรงงาน มะพร้าวอ่อน ส้มโอและกล้วยไข่ สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่และไข่เป็ด ความต้องการใช้และบริโภคลดลง เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียนและเทศกาลกินเจ (13 - 21 ตุลาคม 2558) ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาลัง ปลาอินทรี ปลากะพง ปลาทรายแดง ปลาโอ ปลาจาระเม็ดและกุ้งแวนนาไม
      
       ตารางที่ 2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ต.ค.58 / ก.ย.58
       ก๊าซธรรมชาติ (NG) +4.0
       แร่ดีบุก +4.7
      
       3.2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0 (เดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.2) สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาก๊าซธรรมชาติ (NG) และแร่ดีบุก ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก
      
       ตารางที่ 3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ต.ค.58 / ก.ย.58
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล 95 -2.8
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล 91 -2.7
       น้ำมันก๊าด -0.2
       เอทีลีน -9.1
       โพรพิลีน -13.6
       ไซลีน -1.2
       โพลีสไตริน (PS) -1.5
       โพลีไวนิล คลอไรด์ (PVC) -1.6
       โพลีเอทีลีน (PE) -0.4
       อะคริโลไนทริล บิวทาไดอีน สไตริน (ABS) -5.0
       ยางแผ่นรมควัน -4.8
       ยางแท่ง -2.6
       เหล็กแผ่น -1.8
       เหล็กเส้น -1.4
       เหล็กฉาก -1.0
       เนื้อสุกร -2.6
       ไก่สด -3.6
       ผ้าใยสังเคราะห์ -0.5
       ปุ๋ยเคมีผสม -0.2
       ปูนซีเมนต์ -0.9
       ปูนขาว -0.3
       เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ -0.1
       ข้าวสารเจ้า +0.9
       ข้าวสารเหนียว +1.4
       ข้าวนึ่ง +1.1
       ปลายข้าว +2.3
       ปลาป่น +3.2
       น้ำตาลทรายดิบ +6.6
       ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) +4.1
       เครื่องประดับ +0.3
       ทองรูปพรรณ +1.9
      
       3.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 (เดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.1) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่มีราคาลดลง คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าด ตามภาวะเศรษฐกิจโลก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ได้แก่ เอทีลีน โพรพิลีน เบนซินและไซลีน เม็ดพลาสติก ได้แก่ โพลีสไตรีน (PS) โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) โพลีเอทีลีน (PE) และอะคริโลไนทริล บิวทาไดอีน สไตริน (ABS) ตามการลดลงของราคาน้ำมันปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่ ยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว โลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้นและเหล็กฉาก สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ผ้าใยสังเคราะห์ ปุ๋ยเคมีผสม ปูนซีเมนต์ ปูนขาว เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว ปลาป่น น้ำตาลทรายดิบ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เครื่องประดับและทองรูปพรรณ
      
       4. พิจารณาดัชนีราคาเดือนตุลาคม 2558 เทียบกับเดือนตุลาคม 2557 ลดลงร้อยละ 3.1 สาเหตุจากการลดลงของหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 ตามการลดลงของราคาสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 2.9 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 11.0 ขณะที่ผลผลิตการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ 2.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.0 ตามการลดลงของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.4 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 26.5 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ร้อยละ 4.2 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 2.9 ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 0.1 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 4.9 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 2.1 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิงทอร้อยละ 0.7 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.5 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.5 เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 3.1 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 0.2 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 3.9 ส่วน หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.4 ตามการสูงขึ้นของลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 2.2
      
       5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 10 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.4 โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.0 ตามการลดลงของราคาสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 3.2 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 6.3 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 2.5 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.1 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.8 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.2 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.4 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.1 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 28.5 เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 3.5 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 6.0 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 3.3 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 2.4 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆร้อยละ 0.5
      
       ภาพรวมดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เดือนตุลาคม 2558 เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าหมวดผลผลิตเกษตรกรรม โดยเฉพาะพืชน้ำมัน พืชผักและผลไม้ และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงต่อเนื่องตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับราคาเหล็กที่ลดลงตามการแข่งขันสูงด้านราคากับเหล็กที่นำเข้าจากจีน และคาดว่าแนวโน้มในระยะต่อไป ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศยังคงชะลอตัว โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันตลาดโลก ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะยางพารา ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน
      

*******************************************************

หากต้องการตารางข้อมูล ปีฐาน 2553 ตามรายงานด้านบน กรุณาติดต่อกลุ่มดัชนีราคาผู้ผลิต

กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โทร. 0 2507 7337