Download ..

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้ผลิต

เดือน กันยายน  2558 และเฉลี่ยระยะ 9 เดือนของปี   2558



 
      กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกันยายน 2558 โดยสรุปดังนี้

       จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิต จำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 596 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกันยายน 2558
       ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนกันยายน 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.2 และเดือนสิงหาคม 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.3
      
       2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกันยายน 2558 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนสิงหาคม 2558 ลดลงร้อยละ 0.1 (-0.1)
       2.2 เดือนกันยายน 2557 ลดลงร้อยละ 3.6 (-3.6)
       2.3 เฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม - กันยายน 2558) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (มกราคม -กันยายน 2557) ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.5 (-4.5)
      
       3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกันยายน 2558 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองร้อยละ 1.4 และ 1.2 ตามลำดับ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.1
      
       สินค้าผู้ผลิตหมวดที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นและลดลง
       ตารางที่ 1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.ย.58 / ส.ค.58
       ข้าวเปลือกเจ้านาปี -2.1
       ผลปาล์มสด -6.3
       น้ำยางข้น -12.1
       ยางแผ่นดิบ -10.9
       เศษยาง -9.5
       แตงกวา -11.6
       มะเขือ -12.1
       ข้าวโพดฝักอ่อน -3.4
       พริกสด -2.7
       กะหล่ำปลี -15.9
       ผักคะน้า -4.5
       ผักกาดขาว -2.1
       ผักกาดหอม -1.4
       ถั่วฝักยาว -16.5
       ผักชี -14.6
       ผักกาดหัว -3.8
       ผักคื่นฉ่าย -18.8
       กะหล่ำดอก -4.4
       มะระจีน -3.4
       กล้วยหอม -0.7
       กล้วยน้ำว้า -4.3
       มังคุด -10.9
       มะพร้าวอ่อน -9.9
       ส้มโอ -3.6
       ฝรั่ง -0.6
       ลองกอง -15.1
       ปลาดุก -5.4
       ปาตะเพียน -1.1
       ปลาลัง -2.6
       ปลาสีกุน -17.4
       ปลาหมึกกล้วย -0.8
       หอยแมลงภู่ -1.6
       สุกรมีชีวิต +1.5
       ไก่มีชีวิต +1.2
       ไข่ไก่ +6.9
      
       3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.4 (เดือนสิงหาคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.8) สินค้าเกษตรสำคัญที่มีราคาลดลง คือ ผลผลิตการเกษตร ข้าวเปลือกเจ้า เนื่องจากช่วงเก็บเกี่ยวมีฝนตกในบางพื้นที่ ทำให้ข้าวเปลือกเจ้ามีความชื้นสูงประกอบกับผู้ประกอบการโรงสีชะลอการรับซื้อข้าวเปลือก ผลปาล์มสด ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ภาวะการค้าชะลอตัวและมีสต๊อกน้ำมันปาล์มในระบบอยู่จำนวนมาก ยางพารา ได้แก่ น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบและเศษยาง ผู้ประกอบการชะลอการซื้อ เพราะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว พืชผัก ได้แก่ แตงกวา มะเขือ ข้าวโพดฝักอ่อน พริกสด กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว ผักชี ผักกาดหัว ผักคื่นฉ่าย กะหล่ำดอกและมะระจีน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ผลไม้ ได้แก่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า มังคุด มะพร้าวอ่อน ส้มโอ ฝรั่งและลองกอง ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาลัง ปลาสีกุน ปลาหมึกกล้วยและหอยแมลงภู่ สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิตและไข่ไก่ ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีมากขึ้น
      
       ตารางที่ 2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.ย.58 / ส.ค.58
       ก๊าซธรรมชาติ (NG) -3.5
       แร่สังกะสี -5.5
       แร่ดีบุก -1.8
      
      
       3.2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.2 (เดือนสิงหาคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.0) สาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาก๊าซธรรมชาติ (NG) แร่สังกะสีและแร่ดีบุก ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก
      
       ตารางที่ 3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.ย.58 / ส.ค.58
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล 95 +0.8
       น้ำมันดีเซล +3.6
       น้ำมันก๊าด +4.8
       เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ +0.3
       เนื้อสุกร +2.9
       กุ้งแช่แข็ง +0.8
       สับปะรดกระป๋อง +0.7
       ปลาป่น +1.9
       น้ำตาลทรายขาว +1.7
       ด้ายฝ้าย +0.8
       ผ้าฝ้าย +0.4
       ผ้าดิบ +0.9
       ผ้าใยสังเคราะห์ +0.5
       กระเป๋าธนบัตร +0.6
       กระเป๋าถือสตรี +0.8
       ไม้ยางพารา +2.1
       เยื่อกระดาษ +5.8
       เครื่องประดับและทองรูปพรรณ +1.0
       ไก่สด -4.2
       น้ำมันปาล์มดิบ -3.6
       กากรำข้าว -14.8
       น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ -0.2
       น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ -2.9
       ข้าวสารเจ้า -0.5
       เม็ดพลาสติก -2.5
       ยางแผ่นรมควัน -7.7
       ยางแท่ง -4.9
       เหล็กแผ่น -1.1
       เหล็กเส้น -2.7
       เหล็กฉาก -2.9
      
       3.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.1 (เดือนสิงหาคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.7) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น คือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าด ตามภาวะราคาตลาดโลก เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร กุ้งแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ปลาป่น น้ำตาลทรายขาว ด้ายฝ้าย ผ้าฝ้าย ผ้าดิบ ผ้าใยสังเคราะห์ กระเป๋าธนบัตร กระเป๋าถือสตรี ไม้ยางพารา เยื่อกระดาษ เครื่องประดับและทองรูปพรรณ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด น้ำมันปาล์มดิบ กากรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ข้าวสารเจ้า เม็ดพลาสติก ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก
      
       4. พิจารณาดัชนีราคาเดือนกันยายน 2558 เทียบกับเดือนกันยายน 2557 ลดลงร้อยละ 3.6 สาเหตุจากการลดลงของหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.5 ตามการลดลงของ ราคาหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.5 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 28.9 เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 4.1 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 2.9 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 4.4 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเลคทรอนิกส์ร้อยละ 2.1 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.7 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.2 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.3 เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 1.9 ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 0.1 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 0.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ร้อยละ 0.1 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 2.0 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.6 ตามการลดลงของลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 1.6 แร่โลหะและแร่อื่นๆ ร้อยละ 0.4 ขณะที่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 ตามการสูงขึ้นของผลผลิตการเกษตรร้อยละ 2.3
       5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 9 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 4.5 โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของราคาสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 3.2 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 5.8 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.4 ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 3.0 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.1 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.8 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.4 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.5 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.2 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 28.7 เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 3.3 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 6.3 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 3.2 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 2.5 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มในระยะต่อไป ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศยังคงชะลอตัว ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะยางพารา ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอต่อเนื่อง
      
      

*******************************************************

หากต้องการตารางข้อมูล ปีฐาน 2553 ตามรายงานด้านบน กรุณาติดต่อกลุ่มดัชนีราคาผู้ผลิต

กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โทร. 0 2507 7337