Download ..

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้ผลิต

เดือน มีนาคม  2557 และไตรมาสแรกของปี   2557



 
      ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เดือนมีนาคม 2557 และไตรมาสแรกของปี 2557
กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2557 โดยสรุปดังนี้
       จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 609 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้
       1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม2557
       ในปี 2548 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนมีนาคม 2557 ดัชนีราคาเท่ากับ 141.5และเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดัชนีราคาเท่ากับ 141.4
       2.การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2557 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนกุมภาพันธ์ 2557 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (+0.1)
       2.2 เดือนมีนาคม 2556 สูงขึ้นร้อยละ 1.4(+1.4)
       2.3 เฉลี่ยไตรมาสแรก (มกราคม -มีนาคม 2557) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (มกราคม -มีนาคม 2556) ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2 (+1.2)
       3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมีนาคม 2557เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2557ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 0.6 ส่วนดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 0.9 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง
       3.1หมวดผลผลิตเกษตรกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 (เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.4) สินค้าเกษตรสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าวโพด เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ยางพาราได้แก่ น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบและเศษยาง เข้าสู่ช่วงต้นยางผลัดใบผลผลิตมีน้อยลงพืชผัก ได้แก่ หอมแดง กระเทียม มะนาว มะเขือ พริกสด กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม ต้นหอม ผักชี ผักกาดหัว ผักคื่นฉ่าย ผักกวางตุ้ง เห็ดและดอกกล้วยไม้ ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง สุกรมีชีวิต เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้สุกรออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้านาปี ผลปาล์มสด องุ่น กล้วยน้ำว้า มะม่วง ไก่มีชีวิตและไข่ไก่
       3.2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.9(เดือนกุมภาพันธ์ 2557ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.2)สาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาน้ำมันปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ (NG)ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก
       3.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง (เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน) แต่มีการเปลี่ยนแปลงในหมวดย่อย คือ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ เนื้อโค เนื้อกระบือ กุ้งแห้ง กากถั่วเหลือง รำข้าวขาว อาหารกุ้ง ปลาป่นและน้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกได้แก่ยางแผ่นรมควันและยางแท่ง เนื่องจากสต็อกยางจากจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อินเดียมีการนำเข้ายางธรรมชาติเพิ่มขึ้น โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กรูปตัวซีและลวดเหล็กสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตาและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยสังเคราะห์ ด้ายฝ้าย ผ้าฝ้าย ผ้าดิบและผ้าใยสังเคราะห์
       4. พิจารณาดัชนีราคาเดือนมีนาคม2557 เทียบกับเดือนมีนาคม 2556สูงขึ้นร้อยละ 1.4สาเหตุจากการสูงขึ้นของหมวดผลผลิตเกษตรกรรมสูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากการสูงขึ้นของสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 11.4 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 23.9หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองสูงขึ้นร้อยละ 8.5 ตามการสูงขึ้นของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 10.2 แร่โลหะร้อยละ 2.6หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.5 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 1.2 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 1.1 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.2 เยื่อกระดาษผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 0.2 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 11.4 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 0.5 ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 0.8 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 0.6ยานพาหนะและอุปกรณ์ร้อยละ 0.3 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดัชนีราคาลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 6.9 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 1.3 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 0.4 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 3.6
       5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ยไตรมาสแรกของปี 2557 เทียบกับไตรมาสแรกของปี 2556 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2 โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.1 ตามการสูงขึ้นของราคาสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 11.6 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 27.3หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 7.3 ตามการสูงขึ้นของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ8.4 แร่โลหะและแร่อื่นๆ ร้อยละ 3.1หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.8 ตามการสูงขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.5 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.8 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์ยางและรองเท้าร้อยละ 1.1 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.6 เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 0.5 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 11.4 เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 0.8 ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 1.0 เครื่องจักรส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 0.3 ยานพาหนะและอุปกรณ์ร้อยละ 0.5
      

*******************************************************

หากต้องการตารางข้อมูล ปีฐาน 2553 ตามรายงานด้านบน กรุณาติดต่อกลุ่มดัชนีราคาผู้ผลิต

กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โทร. 0 2507 7337