Download ..

ข่ า ว ก ร ะ ท ร ว ง พ า ณิ ช ย์

ดัชนีราคาผู้ผลิต

เดือน กุมภาพันธ์  2558


 
      กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยสรุปดังนี้

       จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิต จำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 596 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558
       ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.9 และเดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.3
      
       2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมกราคม 2558 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (+0.6)
       2.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลดลงร้อยละ 4.9 (-4.9)
       2.3 เฉลี่ย 2 เดือน (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558) เทียบกับช่วงเดือนเดียวกัน (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557) ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.2 (-5.2)
      
       3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์ผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.9, 4.6 และ 0.4 ตามลำดับ
      
       สินค้าผู้ผลิตหมวดที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นและลดลง
       ตารางที่ 1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.พ.58 / ม.ค.58
       ข้าวเปลือกเจ้านาปี +0.5
       ข้าวโพด +3.2
       ผลปาล์มสด +5.7
       มะพร้าวผล +6.3
       มะนาว +25.1
       กะหล่ำปลี +7.5
       ถั่วฝักยาว +13.7
       หน่อไม้ฝรั่ง +11.1
       บวบ +9.7
       มะระจีน +10.1
       ดอกกุหลาบ +81.2
       องุ่น +6.2
       กล้วยหอม +3.9
       สับปะรดโรงงาน +9.0
       มะม่วง +0.2
       ส้มเขียวหวาน +11.9
       ส้มโอ +5.6
       ลำไย +13.5
       ชมพู่ +3.7
       ปลาช่อน +1.4
       ปลาดุก +2.6
       ปลานิล +0.6
       ปลาทูสด +0.7
       ปลาลัง +3.4
       ปลากะพง +0.8
       ปลาทรายแดง +12.3
       ปลาสีกุน +5.0
       ปูทะเล +2.8
       กุ้งแวนนาไม +2.3
       หอยแมลงภู่ +2.3
       หอยแครง +5.6
       สุกรมีชีวิต -3.2
       ไก่มีชีวิต -2.8
       ไข่ไก่ -1.6
      
       3.1 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9 (เดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2) สินค้าเกษตรสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น คือ ผลผลิตการเกษตร ข้าวเปลือกเจ้านาปี ข้าวโพดและผลปาล์มสด ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยตามฤดูกาล ขณะที่ตลาดยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง มะพร้าวผล ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ พืชผักและไม้ดอก ได้แก่ มะนาว กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว หน่อไม้ฝรั่ง บวบ มะระจีน โดยเฉพาะดอกกุหลาบ ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น เนื่องจากเทศกาลวันวาเลนไทน์ ผลไม้ ได้แก่ องุ่น กล้วยหอม สับปะรดโรงงาน มะม่วง ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ลำไยและชมพู่ ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลานิล ปลาทูสด ปลาลัง ปลากะพง ปลาทรายแดง ปลาสีกุน ปูทะเล กุ้งแวนนาไม หอยแมลงภู่และหอยแครง สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิตและไข่ไก่ สภาพอากาศเอื้ออำนวย ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคลดลง
      
       ตารางที่ 2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.พ.58 / ม.ค.58
       น้ำมันปิโตรเลียมดิบ +11.8
       ก๊าซธรรมชาติเหลว +12.0
      
       3.2 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.6 (เดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.9) สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก
      
       ตารางที่ 3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ก.พ.58 / ม.ค.58
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 95 +11.4
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 +15.6
       น้ำมันดีเซล +7.8
       น้ำมันเตา +19.1
       น้ำมันก๊าด +12.7
       ยางแผ่นรมควัน +2.9
       เนื้อสุกร -1.2
       ไก่สด -1.0
       กุ้งแช่แข็ง -0.3
       น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ -0.2
       น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ -1.2
       ข้าวสารเจ้า -0.6
       ข้าวสารเหนียว -0.9
       ปลายข้าว -0.5
       น้ำตาลทรายขาว -1.3
       ผ้าดิบ -7.1
       ไม้ยางพารา -0.3
       ปุ๋ยเคมีผสม -0.2
       เหล็กเส้น -1.8
       เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ -2.4
       เครื่องประดับ -1.3
       ทองรูปพรรณ -0.7
      
       3.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.4 (เดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.6) สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาสินค้า ในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตาและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากหลายพื้นที่เริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการใช้ยางในประเทศของรัฐบาล สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลงได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด กุ้งแช่แข็ง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ปลายข้าว น้ำตาลทรายขาว ผ้าดิบ ไม้ยางพารา ปุ๋ยเคมีผสม เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เครื่องประดับและทองรูปพรรณ
      
       4. พิจารณาดัชนีราคาเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลดลงร้อยละ 4.9 สาเหตุจากการลดลงของหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.2 ตามการลดลงของสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 3.4 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 6.6 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 13.6 ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 17.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.1 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 1.0 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.7 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.6 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.2 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 30.5 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 4.8 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 6.8 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 2.3 เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 0.9 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 1.9 ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ร้อยละ 0.1 ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 0.1 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 2.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ร้อยละ 0.1
      
       5. พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 2 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.2 โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.4 ตามการลดลงของราคาผลผลิตการเกษตรร้อยละ 0.6 สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ร้อยละ 1.6 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 6.8 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาลดลงร้อยละ 15.5 ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 19.3 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.3 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.7 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.8 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.7 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 32.7 เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ร้อยละ 4.0 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 8.3 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 2.0 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 0.9 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆร้อยละ 0.8
      
      
             ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เดือนมกราคม 2558

       กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมกราคม 2558 โดยสรุปดังนี้
      
       จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 596 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้
      
       1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมกราคม 2558
       ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาเท่ากับ 102.3และเดือนธันวาคม 2557 ดัชนีราคาเท่ากับ 103.8
      
       2.การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมกราคม 2558 เมื่อเทียบกับ
       2.1 เดือนธันวาคม 2557 ลดลงร้อยละ 1.4 (-1.4)
       2.2 เดือนมกราคม 2557 ลดลงร้อยละ 5.4(-5.4)
      
       3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนมกราคม 2558เทียบกับเดือนธันวาคม2557ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.4 จากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 5.9และ 1.6ตามลำดับขณะที่หมวดผลผลิตเกษตรกรรมสูงขึ้นร้อยละ1.2
      
       สินค้าผู้ผลิตหมวดที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นและลดลง
       ตารางที่ 1หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง
      
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ม.ค.58 / ธ.ค.57
       น้ำมันปิโตรเลียมดิบ -14.5
       ก๊าซธรรมชาติเหลว -14.5
       แร่ตะกั่ว -8.8
       แร่สังกะสี -3.7
       แร่ดีบุก -4.3
      
       3.1 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.9(เดือนธันวาคม 2557ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.2) สาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาน้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว แร่ตะกั่วแร่สังกะสีและแร่ดีบุก ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก
       ตารางที่ 2หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ม.ค.58 / ธ.ค.57
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล 95 -11.4
       น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล 91 -17.1
       น้ำมันดีเซล -17.0
       น้ำมันเครื่องบิน -5.6
       น้ำมันเตา -21.3
       น้ำมันก๊าด -20.0
       โพลีสไตริน (PS) -1.2
       โพลีไวนิลคลอไรด์(PVC) -2.8
       โพลีเอทีลีน(PE) -4.8
       โพลีโพรพิลีน(PP) -8.6
       อะคริโลไนทริลบิวทาไดอิน
       สไตริน(ABS) -6.3
       ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (VCM) -5.5
       เหล็กแท่ง -0.5
       เหล็กแผ่นรีดร้อน -3.5
       เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี -3.5
       เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ -2.2
       เหล็กเส้นกลมข้ออ้อย -2.1
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ม.ค.58 / ธ.ค.57
       เหล็กฉาก -1.2
       เหล็กรูปตัวซี -1.8
       ลวดเหล็ก -1.7
       เนื้อสุกร -3.0
       ไก่สด -5.6
       กากถั่วเหลือง -2.5
       กากรำข้าว -3.6
       น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ -0.2
       ข้าวสารเจ้า 0.0
       ข้าวสารเหนียว -1.1
       ปลายข้าว -0.3
       น้ำตาลทรายขาว -0.3
       น้ำมันปาล์มดิบ +2.7
       น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ +2.0
       นมพร้อมดื่ม +0.2
       อาหารสุกร +0.4
       ซีอิ๊ว +0.2
       เกลือป่น +0.7
       ด้ายฝ้าย +0.8
       กางเกงบุรุษ +0.1
       กางเกงสตรี +1.8
       เยื่อกระดาษ +0.7
       ทองคำ +2.4
      
      
       3.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.6(เดือนธันวาคม 2557ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.3)สาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตาและน้ำมันก๊าดซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลก เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีจากการลดลงของเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ได้แก่ โพลีสไตริน(PS)โพลีไวนิลคลอไรด์(PVC) โพลีเอทีลีน(PE) โพลีโพพิลีน(PP)อะคริโลไนทริลบิวทาไดอิน สไตริน(ABS)และไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ตามการลดลงของราคาปิโตรเลียมโลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ ได้แก่เหล็กแท่ง เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมข้ออ้อยเหล็กฉากเหล็กรูปตัวซีและลวดเหล็ก ตามภาวะตลาดโลกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ จากการลดลงของเนื้อสุกรและไก่สด ตามการลดลงของสุกรมีชีวิตและไก่มีชีวิตจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้สุกรและไก่เจริญเติบโตดีส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นส่วนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีราคาลดลงได้แก่ กากถั่วเหลือง กากรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ปลายข้าวและน้ำตาลทรายขาวสำหรับสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ นมพร้อมดื่ม อาหารสุกรซีอิ๊ว เกลือป่น ด้ายฝ้าย กางเกงบุรุษ กางเกงสตรี เยื่อกระดาษและทองคำ
      
       ตารางที่ 3หมวดผลผลิตเกษตรกรรม
      
       อัตราการเปลี่ยนแปลง
       รายการสินค้า ม.ค.58 / ธ.ค.57
       ข้าวเปลือกเจ้านาปี +1.6
       ผลปาล์มสด +6.6
       ยางแผ่นดิบ +2.9
       เศษยาง +1.2
       กล้วยหอม +0.8
       กล้วยน้ำว้า +6.4
       สับปะรดโรงงาน +1.0
       มะม่วง +8.1
       ส้มเขียวหวาน +10.6
       ลำไย +1.8
       ฝรั่ง +6.1
       ชมพู่ +3.3
       สุกรมีชีวิต -3.0
       ไก่มีชีวิต -1.5
       ไข่ไก่ -3.8
       หอมหัวใหญ่ -5.4
       กระเทียม -0.8
       กะหล่ำปลี -6.7
       ผักคะน้า -24.6
       ผักกาดหอม -15.3
       ผักบุ้ง -1.0
       ต้นหอม -3.3
       ผักชี -34.5
       ผักกาดหัว -11.5
       ผักคื่นฉ่าย -34.7
       กะหล่ำดอก -12.7
       ผักกวางตุ้ง -3.8
       มะระจีน -2.2
      
       3.3 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.2 (เดือนธันวาคม2557 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.2) สินค้าเกษตรสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น คือ ผลผลิตการเกษตร ข้าวเปลือกเจ้านาปี ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการสินเชื่อเกษตรกร เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง) ของธ.ก.ส ประกอบกับบางพื้นที่กระทบแล้งทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย ขณะที่ตลาดยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ผลปาล์มสด ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่สต็อกน้ำมันปาล์มในระบบอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ยางพารา ได้แก่ ยางแผ่นดิบและเศษยาง แหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกชุก ทำให้พื้นที่ปลูกยางถูกน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ผลไม้ ได้แก่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า สับปะรดโรงงาน มะม่วง ส้มเขียวหวาน ลำไย ฝรั่งและชมพู่สำหรับสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ หอมหัวใหญ่ กระเทียม กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักบุ้ง ต้นหอม ผักชี ผักกาดหัว ผักคื่นฉ่าย กะหล่ำดอก ผักกวางตุ้งและมะระจีน
      
       4. พิจารณาดัชนีราคาเดือนมกราคม2558เทียบกับเดือนมกราคม 2557ลดลงร้อยละ 5.4สาเหตุจากการลดลงของหมวดผลผลิตเกษตรกรรมดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.7 ตามการลดลงของผลผลิตการเกษตรร้อยละ 1.2 ปลาและสัตว์น้ำร้อยละ7.0 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองดัชนีราคาลดลงร้อยละ 17.3ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติร้อยละ 21.4หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.5 ตามการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบร้อยละ 0.4 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอร้อยละ 0.9 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้าร้อยละ 0.7 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมร้อยละ 35.0เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีร้อยละ 3.2 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกร้อยละ 9.8 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะร้อยละ 1.7 เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 0.9ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ร้อยละ 0.1ผลิตภัณฑ์อโลหะร้อยละ 0.1 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ร้อยละ 2.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ร้อยละ 0.1 สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 0.2
      
      

*******************************************************

หากต้องการตารางข้อมูล ปีฐาน 2553 ตามรายงานด้านบน กรุณาติดต่อกลุ่มดัชนีราคาผู้ผลิต

กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โทร. 0 2507 7337